ads

3 Jun 2013

ชีววิทยา : ตอบคำถาม(หน้า134-137)หนังสือเรียนวิชาเพิ่มเติมชีววิทยาเล่ม1ม.4-6

 
อ้างอิงคำตอบจากการค้นคว้าด้วยตนเองทางอินเตอร์เน็ตและหนังสือตำราต่างๆ
ตอบคำถาม หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 1 ชั้น ม.4-6



หน้า 134 - 137
หน้า 134
เมื่อเซลล์อยู่ในภาวะที่มีแก๊สออกซิเจนไม่เพียงพอหรือไม่มีเลย  เซลล์จะยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆต่อไปได้หรือไม่  อย่างไร
ตอบ ในภาวะที่ไม่มีแก๊สออกซิเจนหรือมีแก๊สออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้   NADH  และ   FADH2   ไม่สามารถถ่ายทอดอิเล็กตรอนให้กับตัวรับอิเล็กตรอนต่างๆที่ฝังตัวอยู่ที่เยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรียได้  เนื่องจากขาดออกซิเจนซึ่งเป็นตัวรับอิเล็กตรอนในขั้นตอนสุดท้ายจึงไม่สามารถสร้าง  ATP  ได้  และมีการสะสม  NADH  และ FADH2  มากขึ้นทำให้ขาดแคลน   NAD+  และ  FAD  มีผลให้ปฏิกิริยาในไกลโคลิซิสวัฏจักรเครบส์  และการถ่ายทอดอิเล็กตรอนดำเนินต่อไปไม่ได้  และยังทำให้เซลล์ขาด  ATP  เซลล์จึงมีกระบวนการผันกลับให้ NADH  กลายเป็น   NAD+  เพื่อให้กระบวนการไกลโคลิซิสไม่หยุดชะงัก  และสามารถสร้าง  ATP  ต่อไปได้  กระบวนการนี้เรียกว่า  กระบวนการหมัก   (fermentation)
(อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/lesson/view.php?id=1105)
ปริมาณยูเรียที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะขึ้นอยู่กับการรับประทานสารอาหารประเภทใด
ตอบ โปรตีน
ถ้าร่างกายนำโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของร่างกายมาสลายเพื่อให้พลังงานแทนสารอาหารประเภทอื่นจะเกิดผลอย่างไรต่อร่างกาย
ตอบ ปกติร่างกายจะไม่มีการเผาผลาญโปรตีนเลย เกิดขึ้นได้น้อยมาก เราต้องอดอาหารหลายวันมากๆ จึงจะมีการนำโปรตีนที่อยู่ที่กล้ามเนื้อ มาใช้สลายเป็นพลังงาน ปกติโปรตีนที่เรากินจะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดอะมิโน แล้วกรดอะมิโนจะถูกย้ายหรือตัดเอาหมู่อะมิโนออก (transamination / deamination) จนเหลือแต่โครงสร้างที่มีแต่ CHO ถ้ามีจำนวน C 5 หรือ 4 อะตอมก็จะนำไปเปลี่ยนเป็นสาร Intermediate ใน Krebs cycle แต่ถ้ามีอะตอม 3 อะตอมก็อาจนำไปเปลี่ยนเป็น pyruvate แล้วผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการสร้าง acetyl CoA ต่อไป ซึ่งอาจนำไปเข้า Krebs cycle เพื่อให้ได้พลังงาน หรือนำไปสังเคราะห์เป็น Triaclyglycerol ต่อไป
การนำเอาโปรตีนตามกล้ามเนื้อมาสลายเป็นพลังงาน จะทำให้มวลของกล้ามเนื้อลง เราก็จะซูบผอม อ่อนเพลีย และที่สำคัญพลังงานที่ได้จากการสลายไม่พอเพียงที่จะเลี้ยงร่างกายได้ ในที่สุดก็อาจเสียชีวิต และอาจเกิดภาวะมี Urea ในร่างกายมากกว่าปกติได้ด้วย
(อ้างอิงจาก http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi/MUBIO_Webboard.php?TopicID=1728&Action=ViewTopic&Lang=Eng)

หน้า 135
ฟองแก๊สที่เกิดขึ้นเป็นแก๊สอะไร  เพราะเหตุใด
ตอบ เป็นแก๊ส CO2 เพราะสีของของสารละลายบรอมไทมอลบลูเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม
 เมื่อดมของเหลวในหลอดทดลองที่มียีสต์และน้ำสับปะรดจะมีกลิ่นหรือไม่  อย่างไร
ตอบ มีกลิ่นแอลกอฮอล์
เหตุใดจึงนำหลอดทดลองไปจุ่มในน้ำอุ่น
ตอบ เพราะน้ำอุ่นจะทำให้อุณหภูมิของหลอดทดลองเพิ่มขึ้น ปฏิกิริยาจะเกิดมากขึ้น ทำให้มี CO2 มากขึ้น
เพราะเหตุใดจึงต้องเติมน้ำมันพืชลงบนผิวหน้าของน้ำสับปะรดและยีสต์
ตอบ เพื่อไม่ให้แก๊สออกซิเจนจากอากาศลงไป
นักเรียนจะสรุปผลการทดลองว่าอย่างไร
ตอบ ในสภาวะที่ขาดO2 เมื่อเติมยีสต์ลงไปในน้ำสับปะรดจะเกิดปฏิกิริยา ได้CO2และเอทิลแอลกอฮอล์
ถ้าทำการทดลองเช่นเดียวกันนี้แต่ใช้น้ำผลไม้ชนิดอื่น  ผลการทดลองจะเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่
ตอบ น่าจะได้ผลใกล้เคียงกัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรด-เบสของสารละลายและปริมาณน้ำตาล ซึ่งเป็นสารให้พลังงานของผลไม้นั้นๆ
(อ้างอิงจาก : อาจารย์ธีราภรณ์  ศักดารณรงค์)

หน้า 136
กระบวนการหมักเกิดขึ้นในคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นได้หรือไม่
ตอบ ในกรณีเซลล์ร่างกายต้องการATPมากในระเวลาสั้น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อขณะออกกำลังกาย ATP ลดลงอย่างรวดเร็ว
(อ้างอิงจาก : อาจารย์ธีราภรณ์  ศักดารณรงค์)

หน้า 137
นักเรียนคิดว่าอะไรเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของกรดไพรูวิกในเซลล์หลังจากเกิดกระบวนการไกลโคลิซิส
ตอบ ออกซิเจนภายในเซลล์
ไมโทคอนเดรียมีความจำเป็นต่อกระบวนการสลายกลูโคสแบบไม่ใช้ออกซิเจนหรือไม่  เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่จำเป็น เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเกิดเฉพาะบริเวณไซโทซอล
(อ้างอิงจาก : อาจารย์ธีราภรณ์  ศักดารณรงค์)


No comments:

Post a Comment